FTTR-Fiber To The Room

Chetaporn Channarong
2 min readMay 30, 2023

--

เมื่อไฟเบอร์ออฟติกส์ไม่ได้สิ้นสุดแค่ที่บ้าน (FTTH: Fiber To The Home) ?

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วที่สูงขึ้นในทุกๆวัน แล้วสื่อที่ใช้กับความเร็วอินเทอร์เน็ตระดับนี้ก็หนีไม่พ้นตัวไฟเบอร์ออฟติกส์ หรือตัวเส้นใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถรองรับความเร็วในระดับ Gigabit per Second ได้อย่างสบายๆ จึงมีการใช้งานไฟเบอร์ออฟติกส์มาต่อใช้งานภายในบ้านแทนที่สาย LAN เดิมที่ใช้เพื่อเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อภายในให้สูงขึ้น

FTTx: Fiber To The x: End of Fiber เป็นการนำเอาไฟเบอร์ออฟติกส์มาใช้เป็นสื่อสัญญาณระหว่าผู้ให้บริการ (Provider) กับลูกค้า (Customer) โดยมี x เป็นตัวแปรที่บอกถึงจุดที่เป็นปลายของไฟเบอร์ออฟติกส์ ตัวอย่าง เช่น ไฟเบอร์ออฟติกส์ไปสิ้นสุดที่บ้าน (Home) ของลูกค้าแสดงว่าจุดปลายของไฟเบอร์ออฟติกส์อยูที่ (x=Home) เราจึง่เรียกว่า FTTH นั่นเอง หรือถ้าไฟเบอร์ออฟติกส์ไปสิ้นสุดอยู่ที่ทำงาน (x=Office) เราก็จะเรียกว่าเป็น FTTO รูปแบบการใช้งานอาจเป็นแบบต่อตรง (Direct) หรือบางครั้งจะเรียกว่า (P2P: Point to Point) อีกรูปแบบเป็นการแบ่งกันใช้งาน (Share Fiber) ที่สามารถทำแบบ AON: Active Optical Network ที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อระหว่างทาง และแบบ PON: Passive Optical Network ไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟ จึงเป็นที่นิยมใช้งานมากกว่า่และใช้งานร่วมกับ เทคโนโลยี xPON (GPON | XGSPON | NGPON) ทำให้ประหยัด ไฟเบอร์ออฟติกส์ได้

ถ้าจะกล่าวถึง FTTR เองอาจมีความหมายได้หลายอย่าง เช่น FTTRouter และ FTTRadio เป็นต้น สำหรับในที่นี้จะหมายถึง FTTRoom นั้นหมายถึงไฟเบอร์ออฟติกส์จะถูกนำไปใช้งานถึงในห้อง (Room) [ซึ่งได้มีมาตรฐานอย่าง ITU-T: International Telecom Union — Telecom Section ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่ใน ITU-T G Suppl. 78 (09/2022) Use case and requirements of fibre-to-the-room for small business applications และ ITU-T Q18/SG15 Associate RapporteurOptical Research Department, Huawei] สำหรับการใช้งาน FTTR นี้จะเข้าไปแทนที่การเชื่อมต่อเครือข่ายในบ้านหรือสถานที่ทำงานในรูปแบบเดิมที่มีการต่อผ่านภายในด้วยสาย LAN (CAT5 | CAT6) ทำให้สามารรองรับความเร็วในการเชื่อมต่อระดับ 2.5–10 Gbps ได้

ตัวอย่าง การต่อใช้งาน FTTRoom ด้วยอุปกรณ์ ONT/HGW ยี่ห้อ RLTECH ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลัก FTTR main Gateway (FM8741A) ที่เชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการที่ ความเร็ว 10Gbps(อาจใช้เทคโนโลยี XGSPON) และอุปกรณ์ตัวลูก FTTR Sub Gateway (RH-820G WAX-3) ที่ใช้เขื่อมต่อภายในบ้านด้วยไฟเบอร์ออฟติสก์ ที่ความเร็วที่ 1 Gbps (อาจใช้เทคโนโลยี GPON)

ที่มา: ภาพอุปกรณ์ FTTR main | FTTR Sub จากบริษัท RLTECH

--

--

No responses yet